ปัญหาเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง
1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีกี่ประเภท ? |
2. สามารถยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทางไปรษณีย์ได้หรือไม่ ? |
3. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถต่ออายุได้หรือไม่ ? |
4. การยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ? |
5. การมายื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าหรือไม่ ? |
6. E-Passport สามารถทำผ่านทางไปรษณีย์ได้ไหม |
7. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) คือ อะไร แตกต่างจากหนังสือเดินทางแบบเดิมอย่างไร? |
8. การนัดหมายล่วงหน้าทำอย่างไร ? |
9. การขอหนังสือเดินทางสำหรับผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) บิดาและมารดาจะต้องเดินทางมาด้วยหรือไม่ ? |
|
1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีกี่ประเภท ? |
ตอบ มี 3 ประเภท ได้แก่ 1. หนังสือเดินทางทูต 2. หนังสือเดินทางราชการ 3. หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป |
back to top |
|
2. สามารถยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทางไปรษณีย์ได้หรือไม่ ? |
ตอบ ไม่ได้ เพราะหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ อาทิ ลายนิ้วมือ รูปใบหน้าของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องมาด้วยตนเอง |
back to top |
|
3. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถต่ออายุได้หรือไม่ ? |
ตอบ ไม่ได้ หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีอายุใช้งานเพียง 5 ปีและเมื่อหมดอายุแล้วไม่สามารถต่ออายุได้อีก จะต้องมา ยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่อีกครั้ง |
back to top |
|
4. การยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ? |
ตอบ เอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้ 1. ข้อมูลผู้ร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ / แบบรายงานตัวคนไทยในต่างประเทศ จำนวน 1 ชุด (ฟอร์ม RTG-LA-P1) หลักฐานดังต่อไปนี้ 2.1 บัตรประจำตัวประชาชนไทยหรือสำเนาทะเบียนบ้านซึ่งมีหมายเลขประจำตัว 13 หลักของผู้ร้องพร้อมด้วยสำเนา 1 ชุด 2.2 หนังสือเดินทางฉบับปัจจุบัน และ สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่ 1 ที่มีรูปถ่ายและรายละเอียดของผู้ร้องฯ และหน้าที่ 2 ที่มีการต่ออายุ 1 ชุด สำหรับผู้ยื่นคำร้องฯ ที่เป็นผู้เยาว์ (มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) ต้องยื่นเอกสารเพิ่ม ดังนี้ 1. สูติบัตรไทยพร้อมด้วยสำเนา 1 ชุด 2. ทะเบียนบ้าน และ บัตรประจำตัวประชาชนไทยของบิดามารดาและของผู้เยาว์ พร้อมด้วยสำเนาอย่างละ 1 ชุด 3. ทะเบียนสมรสของบิดามารดา พร้อมสำเนา 1 ชุด สำหรับผู้ยื่นคำร้องเป็นผู้ที่ลามาศึกษาต่อ 1. ข้าราชการและนักศึกษาที่ลามาศึกษาต่อนอกความดูแลของ ก.พ. จะต้องยื่นหนังสือของส่วนราชการต้นสังกัด ที่อนุมัติให้ลาศึกษาต่อ พร้อมฉบับถ่ายเอกสาร 1 ชุด 2. ข้าราชการและนักศึกษาที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ให้ยื่นเรื่องผ่านสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐฯ ที่สอท. ณ กรุงวอชิงตัน สำหรับผู้ยื่นคำร้องเป็นพระภิกษุ ต้องยื่นเอกสารเพิ่ม ดังนี้ 1. สำเนามติมหาเถรสมาคมอนุมัติการต่ออายุ (ออก) หนังสือเดินทาง ซึ่งระบุชื่อ และฉายาหรือนามสกุล ที่ตรงกับหนังสือเดินทาง จำนวน 1 ชุด 2. หนังสือสุทธิ พร้อมสำเนา 1 ชุด 3. ทะเบียนบ้าน พร้อมด้วยสำเนา 1 ชุด |
back to top |
|
5. การมายื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าหรือไม่ ? |
ตอบ ต้องนัดหมายล่วงหน้า ทั้งนี้ก็เพื่อผลประโยชน์ของผู้ร้องเอง กล่าวคือ แต่ละวันมีผู้ร้องจำนวนมาก แต่ สถานกงสุลใหญ่ฯ สามารถรับคำร้องได้ในจำนวนที่จำกัด นอกจากนั้นเอกสารของผู้ร้องบางคนไม่ถูกต้องครบถ้วน ทำให้ ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ยังผลให้ผู้ร้องต้องเสียเวลาและค้าใช้จ่ายในการเดินทางโดยเปล่าประโยชน์ |
back to top |
|
6. E-Passport สามารถทำผ่านทางไปรษณีย์ได้ไหม |
ตอบ ไม่ได้ เพราะว่าต้องมีการเก็บข้อมูลชีวภาพ (เช่น ลายนิ้วมือ รูปถ่าย) เพื่อบันทึกลงในเล่มหนังสือเดินทาง ดังนั้นจึงต้องมาด้วยตนเอง |
back to top |
|
7. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) คือ อะไร แตกต่างจากหนังสือเดินทางแบบเดิมอย่างไร? |
ตอบ เป็นหนังสือเดินทางที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค (Technical Specifications) ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งแตกต่างจากหนังสือเดินทางแบบเดิม ดังนี้ • มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ได้แก่ลายพิมพ์นิ้วมือ รูปใบหน้า ไว้ใน Contactless Integrated Circuit ซึ่งฝังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง • สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Automatic Gate ณ จุดผ่านแดนระหว่างประเทศ โดยมีการตรวจพิสูจน์โดยอัตโนมัติ • เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในหนังสือเดินทางกับผู้ถือหนังสือเดินทางและกับฐานข้อมูลอาชญากร/ผู้ก่อการร้าย |
back to top |
|
8. การนัดหมายล่วงหน้าทำอย่างไร ? |
ตอบ ในปัจจุบันสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้เปิดให้นัดหมาย online ผ่านทางเว็บไซต์ของสถานกงสุลใหญ่ฯ ที่ www.thaiconsulatela.org |
back to top |
|
9. การขอหนังสือเดินทางสำหรับผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) บิดาและมารดาจะต้องเดินทางมาด้วยหรือไม่ ? |
ตอบ บิดาและมารดาจะต้องมาลงนามในสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วยตนเอง |
back to top |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น