คลิกที่เว็ปไซต์ข้างล่างเลยค่ะ
http://bangkok.usembassy.gov/
เกี่ยวกับสถานทูต
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเป็นสถานทูตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งและประกอบด้วยฝ่ายและหน่วยงานต่างๆ หลายสิบหน่วย ภารกิจของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาคือ ส่งเสริมผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา และดูแลคุ้มครองบุคคลสัญชาติสหรัฐฯ ในประเทศไทย
เอกอัครราชทูตเป็นผู้แทนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และในฐานะที่เป็นหัวหน้าคณะทำงานสนับสนุนนโยบายสหรัฐฯ เอกอัครราชทูตได้รับการช่วยเหลือดำเนินงานจากเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศรวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ
สถานเอกอัครราชทูตรายงานและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ในประเทศไทยที่สหรัฐฯ ให้ความสนใจและทำหน้าที่ส่งเสริมการดำเนินการตามนโยบายต่างๆ ของสหรัฐฯ สถานเอกอัครราชทูตฯ ส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและพาณิชย์ของสหรัฐฯ และการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดทั้งงานบริการต่างๆ ของสหรัฐฯ และรวมถึงการให้ความช่วยเหลือธุรกิจ แรงงานและนักลงทุนชาวอเมริกัน สถานเอกอัครราชทูตฯ ติดต่อประสานงานกับรัฐบาลไทย องค์กรต่างๆ และบุคคลทั่วไปในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมค่านิยมร่วมกันระหว่างประเทศทั้งสอง อันได้แก่ เสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม
เกี่ยวกับสถานทูต
สำนักงานและฝ่ายต่างๆ
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประกอบด้วยสำนักงานและฝ่ายต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของสหรัฐฯ ในประเทศไทย หากท่านประสงค์ทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วยงานต่างๆ ของสถานทูต ขอเชิญเยี่ยมชมได้ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้
หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ อื่นๆ ในประเทศไทย
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเป็นสถานทูตฯ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง และนอกเหนือจากสำนักงานต่างๆ ของสถานทูตฯ แล้ว ยังประกอบไปด้วยหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ อื่นๆ อีกหลายหน่วยงาน
เจ้าหน้าที่สถานทูตระดับสูงและหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ
คณะเจ้าหน้าที่ประจำสถานทูตสหรัฐฯ ประกอบด้วยอัครราชทูตที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดอันดับสองรองจากเอกอัครราชทูตและจะทำหน้าที่อุปทูต รักษาการแทนเอกอัครราชทูตระหว่างที่เอกอัครราชทูตไม่อยู่ในประเทศไทย
ฝ่ายการเมือง ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายบริหารธุรการ ฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม และฝ่ายกงสุลของสถานทูตฯ ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมดูแลของที่ปรึกษาสถานทูต ทั้งนี้เอกอัครราชทูตและคณะเจ้าหน้าที่สถานทูตฯ ซึ่งจะรายงานผ่านเอกอัครราชทูตจะรายงานโดยตรงต่อกระทรวงต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน ผู้ช่วยทูตทหารบก ผู้ช่วยทูตทหารเรือ และผู้ช่วยทูตทหารอากาศ เป็นคณะทำงานที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ส่วนที่ปรึกษาฝ่ายกิจการการเกษตร ที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ และเจ้าหน้าที่ศุลกากรระดับสูงมีหน้าที่รับผิดชอบในการให้คำปรึกษาต่อเอกอัครราชทูตในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่และกิจกรรมด้านต่างๆ ของแต่ละฝ่าย และจะรายงานโดยตรงต่อหน่วยงานบังคับบัญชาระดับสูงของตนในกรุงวอชิงตัน นอกจากนั้น ผู้แทนจากหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในคณะทำงานของเอกอัครราชทูตด้วย
เจ้าหน้าที่สถานทูตระดับสูง
- เอกอัครราชทูต -- Kristie A. Kenney
- อัครราชทูตที่ปรึกษา -- Judith B. Cefkin
- ที่ปรึกษาฝ่ายการเมือง -- George P. Kent
- ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ -- Julie J. Chung
- ที่ปรึกษาฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม -- Kenneth L. Foster
- กงสุลใหญ่ -- Ronald Robinson
- ที่ปรึกษาฝ่ายบริหารธุรการ -- Gregory S. Stanford
- สำนักงานรักษาความมั่นคงทางการทูต -- Randall Bennett
หัวหน้าหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ อื่นๆ ในประเทศไทย
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร -- Colonel Robert A. Bowden
- สำนักงานตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืช -- Robert T. Tanaka
- Broadcasting Board of Governors -- Richard Baltes
- ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ -- Michael D. Malison
- สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ -- Robert V. Looney
- สำนักงานให้การสนับสนุนสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร -- Jay L. Phipps
- สำนักงานปราบปรามยาเสพติด -- Thomas P. Pasquarello
- สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร -- Colonel Patrick Kane
- สำนักงานประสานงานด้านวิชาการทางทหาร -- Richard D. Gibson
- สำนักงานทูตเกษตร -- John Wade
- ฝ่ายการพาณิชย์ -- Cynthia Griffin-Greene
- หน่วยป้องกันกองกำลัง -- Gregory S. Miller
- สำนักงานศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา --Barry Tang
- ศูนย์แก้ไขปัญหาทหารอเมริกันที่สาบสูญ กองกำลังพิเศษที่ 1 -- Major Marc E. Galler
- คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯประจำประเทศไทย (จัสแมกไทย) -- Colonel Edward A. Swanda
- สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายกฎหมาย -- Daniel P. Kelly
- สำนักงานกิจการภายใน -- Philip Guentert
- ศูนย์ข่าวสื่อมวลชน -- Loren Reeder
- หน่วยอาสาสมัครสันติภาพ -- John L. Williams
- สำนักงานบริหารการรักษาความปลอดภัยการขนส่งแห่งสหรัฐอเมริกา -- Anjum K. Agarwala
- องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ -- Olivier Carduner
- สำนักงานตำรวจลับสหรัฐฯ -- Jimmy Yi
วันหยุดราชการขององค์กรรัฐบาลสหรัฐประจำประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2554 | |||
---|---|---|---|
เดือน | วันที่ | วัน | เหตุการณ์สำคัญ |
มกราคม | 17 | จันทร์ | |
กุมภาพันธ์ | 21 | จันทร์ | วันประธานาธิบดี |
เมษายน | 6 | พุธ | วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันจักรี |
เมษายน | 13 | พุธ | วันสงกรานต์ |
เมษายน | 14 | พฤหัสบดี | วันสงกรานต์ |
เมษายน | 15 | ศุกร์ | วันสงกรานต์ |
พฤษภาคม | 5 | พฤหัสบดี | วันฉัตรมงคล |
พฤษภาคม | 16 | จันทร์ | วันหยุดพิเศษ |
พฤษภาคม | 17 | อังคาร | วันวิสาขบูชา |
พฤษภาคม | 30 | จันทร์ | วันที่ระลึกสงครามโลก |
กรกฎาคม | 4 | จันทร์ | วันฉลองอิสรภาพ |
สิงหาคม | 12 | ศุกร์ | วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ |
กันยายน | 5 | จันทร์ | วันแรงงาน |
ตุลาคม | 10 | จันทร์ | วันโคลัมบัส |
ตุลาคม | 24 | จันทร์ | วันหยุดชดเชย วันปิยะมหาราช |
พฤศจิกายน | 11 | ศุกร์ | วันทหารผ่านศึก |
พฤศจิกายน | 24 | พฤหัสบดี | วันขอบคุณพระเจ้า |
ธันวาคม | 5 | จันทร์ | วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช |
ธันวาคม | 12 | จันทร์ | วันหยุดชดเชย วันรัฐธรรมนูญ |
ธันวาคม | 26 | จันทร์ | วันหยุดชดเชย วันคริสต์มาส |
คริสตี้ เคนนี่ย์
เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
เอกอัครราชทูตคริสตี้ เคนนี่ย์ เข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554 ท่านเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศอาวุโส และเป็นสตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศฟิลิปปินส์ระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2553 เอกอัครราชทูตเคนนี่ย์เริ่มอาชีพนักการทูตเมื่อปี พ.ศ. 2524 และเคยไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศต่างๆ อาทิ เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศเอกวาดอร์ และเคยปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในจาเมกา สวิตเซอร์แลนด์และอาร์เจนตินา
นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตเคนนี่ย์เคยยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักเลขาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (Executive Secretary) ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และเป็นเจ้าหน้าที่สภาความมั่นคงแห่งชาติที่ทำเนียบขาว ท่านสามารถพูดภาษาต่างประเทศได้ 2 ภาษา คือ ภาษาสเปนและภาษาฝรั่งเศส และเคยได้รับรางวัลสำคัญด้านภาวะผู้นำหลายรางวัล
มารดาของเอกอัครราชทูตเคนนี่ย์เป็นข้าราชการครูเกษียณอายุ และบิดาเป็นทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านเติบโตในย่านชานเมืองของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เอกอัครราชทูตเคนนี่ย์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัย Clemson และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัย Tulane เมืองนิวออร์ลีนส์ นอกจากนี้ ท่านยังได้เข้ารับการอบรมที่วิทยาลัยป้องกันประเทศในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
ตลอดช่วง 24 ปีที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตเคนนี่ย์สมรสกับ นายบิล บราวน์ฟีลด์ ซึ่งขณะนี้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศด้านการปราบปรามยาเสพติด การบังคับใช้กฎหมายและอาชญากรรมระหว่างประเทศ เอกอัครราชทูตเคนนี่ย์และสามีชอบชมและเล่นกีฬา เดินทางท่องเที่ยวและใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ท่านทั้งสองมีแมวสีดำขาวสองตัวชื่อ “เอมิลี” และ “จูเนียร์” ซึ่งท่านรับมาเลี้ยงจากสถานพักพิงสัตว์
สุนทรพจน์และแถลงการณ์
- สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา - 25 เมษายน 2554
คำแถลงของรัฐมนตรีคลินตัน
- คำแถลงของนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์และวันขึ้นปีใหม่ไทย - 11 เมษายน 2554
- สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำบนอินเทอร์เน็ต: ทางเลือกและอุปสรรคท้าทายในโลกแห่งเครือข่าย - สุนทรพจน์โดยนางฮิลลารี รอดดัม คลินตัน - 15 กุมภาพันธ์ 2554
- เป็นผู้นำผ่านพลังข้าราชการพลเรือน - ธันวาคม 2553
- 16 วันแห่งการรณรงค์ต่อต้านการใช้ความรุนแรงที่มีสาเหตุจากเพศ - พฤศจิกายน 2553
- สุนทรพจน์ของท่านประธานาธิบดีเนื่องในวาระการเริ่มเทศกาลรอมฎอน - 11 สิงหาคม 2553
- แถลงการณ์เรื่อง สถานการณ์ในประเทศไทย - 19 พฤษภาคม 2553
- แถลงการณ์เรื่อง ประเทศไทย - 9 พฤษภาคม 2553
- คำแถลง การสมานฉันท์อย่างสันติในประเทศไทย - 4 พฤษภาคม 2553
- คำแถลงเรื่อง การชุมนุมทางการเมืองในประเทศไทย - 10 เมษายน 2553
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น